พลาสติกพีพี หรือโพลีโพรไพลีน ปัญหาขยะและทางออก
โพลีโพรไพลีน (Polypropylene, PP) ได้รับการพัฒนาและผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 จากโพรไพลีน
เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง ผิวเป็นมันเงา ทนกรด เบส และสารเคมีต่างๆ
ยกเว้นไฮโดรคาร์บอนและคลอริเนเทตไฮโดรคาร์บอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามโครงสร้างของโพลิโพรพิลีน ได้แก่
ไอโซแทกทิกโพลิโพรพิลีน ซินดิโอแทกทิกโพลิโพรพิลีน และแอแทกทิกโพลิโพรพิลีน มีสมบัติดีกว่าโพลิเอทิลีนหลายอย่าง ได้แก่
ทนแรงกระแทกสูง ทนการขีดข่วน ทนสารเคมี มีจุดอ่อนตัวสูง มีความหนาแน่นต่ำ และมีอุณหภูมิในการหลอมสูง
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวพีพีจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งอุปกรณ์การแพทย์ ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงและบรรจุภัณฑ์ ลัง แบตเตอรี่
เฟอนิเจอร์ สินค้าครัวเรือน ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยการใช้งานที่หลากหลายดังกล่าว
ดังนั้นผลพวกที่ตามมาคือเศษวัสดุพีพีเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรม และขยะจากครัวเรือนเป็นจำนวนมาก
ในแต่ละวันขยะที่เกิดจากพีพีจึงมีจำนวนมหาศาล ด้านล่างเป็นรายการสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี 2559
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
และแน่นอนพีพีย่อมรวมอยู่ในตัวเลขดังกล่าวด้วย
ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ดีที่สุดคงไม่พ้นการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและสามารถนำพลาสติกที่ถูกใช้งานแล้วกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง
พีพีเป็นเทอโมพลาสติกซึ่งมีชีวิตที่ยืนยาว สามารถนำกลับมาเข้าสู่ขบวนการรีไซเคิล เป็นพลาสติกรีไซเคิล และถูกเรียกว่าพีพีรีไซเคิล
(โพลีโพรไพลีนรีไซเคิล pp recycle) ถูกนำกลับไปใช้ใหม่อย่างหลากหลาย พีพีรีไซเคิล (pp recycle)
ถูกใช้เป็นวัตถุดิบพลาสติกของใช้ครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท และ ณ ปัจจุบันถูกพัฒนาไปจนใช้ในชิ้นส่วนยานยนต์ในต่างประเทศ
ซึ่งพีพีรีไซเคิล(pp recycle)เอง ก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการแก้ไขปัญหาขยะที่ล้นประเทศ
ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนด้วยการคัดแยกขยะและวัสดุเหลือใช้อย่างถูกต้อง
ย่อมส่งผลดีให้สามารถนำพลาสติกกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยลดการใช้ทรัพยากรโลก
เพื่อวันนี้และวันข้างหน้าของทุกๆคน