ขยะพลาสติก ถือเป็นปัญหาใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งปีปีหนึ่ง โลกเราจะผลิตขยะพลาสติกออกมากว่า 380,000 ล้านกิโลกรัม และมีคนคาดเดากันว่า จะมีจำนวนมากขึ้นอีกกว่า 4 เท่าภายในปี 2050 โดยจากความพยายามที่จะกำจัดขยะพลาสติกมานานหลายปี เราพบว่าพลาสติกเป็นวัสดุที่จะไม่เสื่อมสภาพเพราะมีพันธะคาร์บอน และนั่นเป็นจุดเด่นหนึ่งที่โลกเรากำลังจะหยิบมันมาใช้ประโยชน์ได้
เมื่อทางมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองแห่งชาติอาร์กอน และห้องปฏิบัติการทดลองอาเมส แห่งกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา ได้ทำการใช้สารละลายเร่งปฏิกิริยา ที่ประกอบด้วยอนุภาคโลหะทองคำขาวนาโน (platinum nanoparticles) มีขนาดเพียงแค่ 2 นาโนเมตรวางลงบนสารประกอบเคมีเพอรอฟสไกต์ (perovskite) ทรงลูกบาศก์ขนาดประมาณ 50-60 นาโนเมตร ซึ่งเพอรอฟสไกต์มีความเสถียรภายใต้อุณหภูมิ และความกดดันสูง จึงเป็นวัสดุที่ดีในการแปลงตัวเป็นพลังงาน โดยทำการแยกพันธะคาร์บอนของพลาสติกเพื่อผลิตไฮโดรคาร์บอนเหลวคุณภาพสูง ซึ่งเป็นของเหลวที่สามารถนำไปใช้ในน้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น ขี้ผึ้ง หรือผ่านกระบวนการอื่นๆ เพื่อผลิตส่วนผสมสำหรับผงซักฟอก และเครื่องสำอางต่อไป
You Might Also Like